ทำความเข้าใจเด็กเอาแต่ใจตัวเอง ระดับความรุนแรงและอาการและวิธีรับมือ

#ทำความเข้าใจ #เด็กเอาแต่ใจตัวเอง #ระดับความรุนแรง #อาการและวิธีรับมือ

เด็กเอาแต่ใจ

ลูกเอาแต่ใจ ความอดทนต่ำ ไม่มีวินัย และไม่ยอมทำตามกฏกติกา หนึ่งในปัญหาหนักอกหนักใจของคุณพ่อคุณแม่หลายๆ บ้าน เด็กเอาแต่ใจนั้น มีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูเป็นส่วนใหญ่ แล้วเราจะเลี้ยงลูกอย่างไรให้ไม่กลายเป็นเด็กเอาแต่ใจ เราสามารถทำอะไรเพื่อปรับพฤติกรรมตรงนี้ของลูกได้บ้าง เรามาทำความเข้าใจ เด็กเอาแต่ใจตัวเอง ระดับความรุนแรง อาการและวิธีรับมือกันค่ะ
 
😠เด็กเอาแต่ใจ กล่าวรวมๆ คือ เด็กที่มีอารมณ์โกรธรุนแรง เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ ไม่ยอมทำตามคำสั่ง สิ่งที่ทำให้เด็กมีนิสัยเอาแต่ใจตัวเองก็จะเป็นเพราะ การที่ถูกตามใจ เอาใจ ทำให้รู้สึกพอใจตลอดเวลา รวมทั้งตัวเด็กเองมีปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์ ได้ซึมซับรับเอานิสัยของคนรอบข้างเข้ามา มีความอยากโดดเด่น แตกต่างจากคนอื่น
 
นอกจากนี้การเอาแต่ใจยังมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
⚡️⚡️⚡️ระดับร้ายแรง (Grandiose/malignant type) เด็กจะมีอารมณ์โกรธอย่างรุนแรง ไม่สามารถระงับได้ และยังพยายามบีบบังคับให้คนอื่นทำตามที่ตนเองต้องการ คิดว่าตนเองสำคัญมากและอยู่เหนือคนอื่น ขาดความเห็นอกเห็นใจ มีแนวโน้มที่จะโทษคนอื่น เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นมา
⚡️⚡️ระดับเปราะบาง (Fragile type) เด็กจะมีความพยายามที่จะระงับความไม่พอใจ แต่จะรู้สึกวิตกกังวลและโดดเดี่ยว รวมถึงไขว่คว้าถึงความรู้สึกของการเป็นคนสำคัญหรือคนพิเศษ
⚡️ระดับเรียกร้องความสนใจ (Exhibitionistic) เด็กจะรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญมาก ในระดับนี้อาจจะช่วยผลักดันให้เด็กมีความสามารถที่หลากหลาย เช่น การพูดการเขียน การเข้าสังคม ทำให้เด็กมีความกระตือรือร้นและมีพลังงานมาก
 
นิสัย อาการของเด็กเอาแต่ใจตัวเองสามารถสังเกตได้ง่ายๆ คือ เด็กจะไม่สามารถแยกความต้องการและความอยากได้ออกจากกัน, ไม่ทำตามคำสั่ง กฎเกณฑ์ และคำแนะนำ, มีความอดทนต่ำ, ขาดความเห็นใจ เห็นแก่ตัว, ไม่เคารพสิทธิผู้อื่น บังคับคนอื่น
 
📍วิธีการแก้ปัญหา ลูกเอาแต่ใจ นั้น ทำได้โดยการ พูดคุยกับลูกจริงจัง ว่าลูกควรเลิกพฤติกรรมอะไรบ้าง, ตั้งกฎเกณฑ์ภายในบ้าน, ใช้คำว่า “อย่า” เท่าที่จำเป็น, ให้ตัวเลือกกับลูก เพื่อให้เขาได้ตัดสินใจ, ไม่ชมลูกเกินจำเป็น ควรให้คำชมเมื่อลูกทำความดี และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกค่ะ
 
#สารพันปัญหาการเลี้ยงลูก
Rate This Article:
No comments

leave a comment